วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การทำงานของคอมพิวเตอร์

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การทำงานของคอมพิวเตอร์

1. ง         2.  ก         3.  ข         4.  ข      5. ก

6.   ข       7.  ค         8.  ง        9.  ค    10. ค

แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การทำงานของคอมพิวเตอร์

แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การทำงานของคอมพิวเตอร์

คำชี้แจง    ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.        ออปติคัลดิสก์ ที่บันทึกได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลและไม่สามารถบันทึกเพิ่มได้คือข้อใด
ก.      ซีดีอาร์ดับบลิว                                  ข.     ดีวีดี      
           ค.   ซีดีอาร์                                                  ง.      ซีดีรอม
2.        อุปกรณ์จับภาพ จัดเป็นส่วนประกอบพื้นฐานในหน่วยใดของคอมพิวเตอร์
           ก.     หน่วยรับข้อมูล                                  ข.     หน่วยความจำหลัก
           ค.     หน่วยประมวลผลกลาง                     ง.      หน่วยแสดงผล
3.        ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลและคำสั่งมาใช้ในภายหลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยข้อมูลไม่สูญหาย
จากอุปกรณ์ใด
           ก.     แรม                                                    ข.     ฮาร์ดดิสก์     
           ค.     เครื่องพิมพ์                                         ง.      สแกนเนอร์
4.        ถ้าต้องใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลา 4-8 ชั่วโมง ควรเลือกใช้จอภาพชนิดใด
           ก.     จอทีเอฟที                                           ข.     จอแอลซีดี    
           ค.     จอพลาสมา                                        ง.      จอซีอาร์ที
5.        จอภาพชนิดใด ที่เหมาะสำหรับใช้ชมภาพยนตร์และกีฬา
           ก.     จอพลาสมา                                         ข.     จอแอลซีดี    
           ค.     จอทีเอฟที                                           ง.      จอซีอาร์ที
6.        อุปกรณ์ในข้อใด จัดเป็นอุปกรณ์หน่วยความจำสำรอง
           ก.     แฟลชไดรฟ์     แรม                           ข.     ฮาร์ดดิสก์     แผ่นซีดี
           ค.     ซีพียู   จอภาพ                                    ง.      เครื่องพิมพ์    ลำโพง
7.        อุปกรณ์ในข้อใดจัดเป็นอุปกรณ์หน่วยรับข้อมูล
           ก.     แป้นพิมพ์   ซีพียู                                ข.     เมาส์      แฟลชไดรฟ์
           ค.     สแกนเนอร์  ไมโครโฟน                ง.      แผ่นซีดี   จอภาพ
8.        ถ้าข้อมูลที่รับเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในรูปของเสียง อุปกรณ์ที่ใช้ในหน่วยรับข้อมูล และหน่วยแสดงข้อมูลคือข้อใด
           ก.     กล้องดิจิตอล - ลำโพง                      ข.     เมาส์- จอภาพ
           ค.     สแกนเนอร์- จอภาพ                         ง.      ไมโครโฟน - ลำโพง
9.        เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้ที่ใดในขณะทำงาน
           ก.     หน่วยความจำสำรอง                         ข.     แฟลชไดรฟ์    
           ค.     หน่วยความจำแรม                             ง.      ฮาร์ดดิสก์
10.      สแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการทำงานข้อใด
           ก.     ส่งผ่านข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีไร้สายและทำงานโดยใช้แบตเตอรี่
           ข.     ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและประมวลผลข้อมูล
           ค.     ใช้หลักการส่องแสงไปยังข้อความ สัญลักษณ์ หรือภาพแล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า

           ง.     ทำงานคล้ายเครื่องถ่ายเอกสารโดยใช้แสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้าบวก

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

เรื่องที่ 6 หน่วยความจำรอง (Secondary Storage)

เรื่องที่ 6 หน่วยความจำรอง (Secondary Storage)

6.1 ความหมาย
      หน่วยความจำรอง ( Secondary Storage ) หมายถึง หน่วยที่ใช้สำหรับเก็บบันทึก (Save) คำสั่งและข้อมูลเอาไว้อย่างถาวรเพื่อใช้งานในอนาคต หรือเพื่อนำส่งและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่น โดยที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เก็บได้ตลอดเวลา ฮาร์ดแวร์ทีทำหน้าที่ในหน่วยความจำสำรองที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสเกตต์ แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี และยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ ซึ่งแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติและข้อดีข้อเสียในการเก็บข้อมูลต่างกัน

6.2 ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
      ฮาร์ดดิสก์ หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (hard disk) คืออุปกรณ์บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือนมีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสาร แม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอก ได้ผ่านทางสายยูเอสบี, รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น ประกอบไปด้วยจานบันทึก หลายอันด้วยกัน,หัวอ่านและบันทึกข้อมูล, วงจรอิเล็กทรอนิกส์ของไดรฟว์ และตัวมอเตอร์ ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์ นั้นเป็นแค่ตัวเก็บข้อมูลเท่านั้น


รูป ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)


6.3 แผ่นซีดี (Compact Disk : CD )
      วิวัฒนาการของการใช้หน่วยความจำรองได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันได้มีการประดิษฐ์แผ่นซีดี ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก การเก็บข้อมูล บนแผ่นซีดี ใช้หลักการทางแสง แผ่นซีดีที่อ่านได้อย่างเดียว เรียกกันว่า ซีดีรอม (CD- ROM) ข้อมูลที่บันทึกจะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิต เหมือนการบันทึกเพลงหรือภาพยนตร์ ข้อเด่นของแผ่นซีดีคือ ราคาถูก จุข้อมูลได้มาก สามารถเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมได้มากกว่า 750 เมกะไบต์ต่อแผ่น แผ่นซีดีมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 นิ้ว ในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตแผ่นซีดีได้ก้าวหน้าขึ้นจนสามารถเขียนข้อมูลบนแผ่นซีดีได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ เรียกว่า ออปติคัลดิสก์(optical disk)แผ่นซีดี ( CD-ROM ) แผ่นซีดี ย่อมาจาก คอมแพ็กดิสก์ (Compact Disc) คือแผ่นออพติคอลเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัลแผ่นซีดีคือมาตรฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน


รูป แผ่นซีดี (Compact Disk : CD )

6.4 ดีวีดี ( DVD; Digital Versatile Disc )
     ดีวีดี ( DVD; Digital Versatile Disc ) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง( Optical Disc ) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน (เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า
 คุณสมบัติของดีวีดี
  1. ​สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่ความละเอียดสูงได้ถึง 120 นาที ( 4.7 GB. )
  2. การบีบอัดของวิดีโอในรูปแบบ MPEG-2 นั้นมีอัตราส่วนอยู่ที่ 4 : 0 : 1
  3. ทำภาพนิ่งได้สมบูรณ์เหมือนภาพสไลด์
  4. ใช้บันทึกข้อมูล ภาพและเสียงด้วยระดับคุณภาพของซีดี ก็จะสามารถ บันทึกได้นานถึงเกือบ 8 ชั่วโมง

รูป ดีวีดี ( DVD; Digital Versatile Disc )


6.5 ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์: USB Flash Drive
      Handy drive ( แฮนดี้ไดร์ฟ )หรือคือชื่อทางการค้าของสื่อจัดเก็บประเภทแฟลชเมมโมรี่ ( Flash Memory )ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร ์ ด้วยพอร์ตยูเอสบี ( USB Port ) มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับยูเอสบีแฟลชเมมโมรี่( USB Flash Memory ) ที่ถูกเรียกด้วยชื่ออื่น ๆ เช่น Thumb Drive, Flash Dirve, Jet Drive ฯลฯ แฮนดี้ไดร์ฟเป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลขนาดเล็กแต่มีความจุสูง ทั้งนี้มันมีความจุมากกว่าแผ่นดิสต์ซึ่ง โดยปกติการย้ายข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่ง มักจะใช้ ดิสก์เก็ต ในการโอนย้าย( มีความจุประมาณ 1.44 MB ) แต่ปัจจุบัน ข้อมูลที่ต้องการเคลื่อนย้ายมีขนาดใหญ่มากไม่ว่าจะเป็นข้อมูลรูปภาพ เพลง ข้อมูลการนำเสนอ รวมทั้งไฟล์หนังมีผลทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้าย ซึ่งผ่านดิสก์เก็ต ได้สะดวกยูเอสบีแฟลชไดรฟ์มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ(Removable Drive) ทัมป์ไดรฟ์(Thump Drive) แฮนดี้ไดรฟ์( Handy Drive) และเพ็นไดรฟ์(Pen Drive)


รูป ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์: USB Flash Drive




ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type1/tech03/16/Secondary-Storage.htm

เรื่องที่ 5 หน่วยแสดงผล (Output Unit)

เรื่องที่ 5 หน่วยแสดงผล (Output Unit)

5.1 ความหมาย
       เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลที่เตรียมไว้ในหน่วยความจำหลัก เพื่อส่งข้อมูลหรือสื่อสารกับผู้รับโดยมีฮาร์ดแวร์ทำหน้าที่เป็นส่วนแสดงผลหรือส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลจากซีพียูมายังผู้รับ ทั้งในรูปแบบภาพ เสียง และสิ่งพิมพ์ ฮาร์ดทีทำหน่าที่ในหน่วยนี้มีหลายประเภทด้วยกัน ตัวอย่างเช่น จอภาพหรือมอนิเตอร์ ลำโพง หูฟัง เครื่องพิมพ์ และเครื่องแอลซีดีโพรเจคเตอร์ แต่ละประเภทจะมีลักษณะและการนำเสนอข้อมูลที่แตกต่างกัน 

5.2 จอภาพหรือมอนิเตอร์(Monitor)
       จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(moniter ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะแบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพ การแสดงผลมากกว่าจอในปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดี กว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และปวดตาเมื่อต้องทำงานนาน ๆ แต่ ราคาของจอแบนยังมีราคาสูงกว่า จอปกติพอสมควรทำให้ยังไม่เป็น ที่นิยมมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้จอแบนคงจะมีราคาที่ถูกกว่านี้ และเป็นมาตรฐานของจอภาพคอมพิวเตอร์ในอนาคต การที่ผู้ใช้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพได้นั้น เป็นเพราะฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่งทำงานควบคู่กับ ที่จอภาพเรียกว่า การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ (Display Adapter Card) เป็นวงจรภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับจอภาพขนาดของจอภาพเป็น 15นิ้ว 17นิ้ว

รูป จอภาพหรือมอนิเตอร์ (monitor)

5.3 เครื่องฉายภาพ (LCD Projector)
      เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้ผู้ชม จำนวนมากเห็นพร้อม ๆ กัน อุปกรณ์ ฉายภาพในปัจจุบันจะมีอยู่หลายแบบ ทั้งที่สามารถต่อสัญญาณจาก คอมพิวเตอร์โดยตรง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษในการวางลงบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector) ธรรมดา เหมือนกับอุปกรณ์นั้นเป็นแผ่นใสแผ่นหนึ่ง


รูป เครื่องฉายภาพ (LCD Projector)


รูป จอภาพโปรเจ็คเตอร์ 


5.4 ลำโพง(Speaker)
      เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่แสดงผลข้อมูลเสียง โดยต้องใช้งานคู่กับอุปกรณ์ ที่เรียกว่า การ์ดเสียง (sound card) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรกนิกส์ที่เสียบอยู่กับเมนบอร์ดภายในตัวถังหรือที่เรียกว่าเคท(cartridge)ของเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ตัวนี้ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลที่ส่งมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาญแอนาล็อกแล้วส่งผ่านไปยังลำโพงซึ่งจะแปลงสัญญาณที่ได้รับเป็นเสียงให้เราได้ยินไม่ว่าจะเป็นเสียงเพลงหรือเสียงเตือนถึงข้อผิดพลาด

รูป ลำโพง(Speaker)


5.5 หูฟัง(Ear Phone)
     ใช้รับข้อมูลประเภทเสียง มีลักษณะการทำงานเหมือนลำโพงแต่ลดขนาดลง ทำให้สะดวกในการพกพาใช้รับข้อมูลได้เฉพาะตัวบุคคลหูฟังในปัจจุบัน มีรูปแบบ คุณภาพและราคาที่หลากหลาย บางชนิดมีไมโครโฟน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการรับข้อมูลประเภทเสียง หูฟังประเภทนี้จะมีสาย สำหรับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เส้นโดยเส้นหนึ่งจะใช้สำหรับรับสัญญาณเสียงส่วนอีกเส้นหนึ่ง จะใช้สำหรับส่งสัญญาณเสียง


รูป หูฟัง(Ear Phone)

5.6 เครื่องพิมพ์ (Printer)
      เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยผ่านพอร์ตขนานที่มีขนาด 25 พิน เพื่อทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปของอักษร หรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษและเป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมาก และมีให้เลือกหลากหลายชนิดขึ้นกับคุณภาพและความละเอียดของการพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์ ขนาดกระดาษสูงสุดที่สามารถพิมพ์ได้ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการพิมพ์


รูป เครื่องพิมพ์ (Printer)





ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type1/tech03/16/mainsystem.html

เรื่องที่ 4 หน่วยความจำหลัก (Main Memory)

เรื่องที่ 4 หน่วยความจำหลัก (Main Memory)

4.1 ความหมาย
      หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit หรือ Primary Storage หรือInternal Storage) เป็นหน่วยความจำที่ต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU.) และหน่วยประมวลผลกลางสามารถใช้งานได้โดยตรง 
        หน่วยความจำหลัก จะเก็บข้อมูล และชุดคำสั่งในระหว่างประมวลผล และต้องมีกระแสไฟฟ้าเข้ามาช่วย  แต่เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลในหน่วย ความจำนี้จะหายไปด้วย หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
        1. แรม (Random Access Memory : RAM)
        2. รอม (Read Only Memory : ROM)

4.2 แรม (Random Access Memory : RAM) 
       เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลสำหรับใช้งานทั่วไป  การอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลใดๆ เพื่อการเขียนและการอ่านจะกระทำแบบการเข้าถึงโดยสุ่มคือ เรียกไปที่ตำแหน่งที่อยู่ข้อมูลใดก็ได้ หน่วยความจำนี้เรียกว่า แรม หน่วยความจำประเภทนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตราบเท่าที่มีกระแสไฟฟ้ายังจ่ายให้วงจร หากไฟฟ้าดับเมื่อใด ข้อมูลก็จะสูญหายทันที 
      เครื่องพีซีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ ถ้ามีหน่วยความจำแรมมากๆ จะทำให้สามารถใช้งานโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ๆ ได้ดีด้วย หน่วยความจำที่นิยมในปัจจุบันจะประมาณ 1, 4, 8, 16 กิกะไบต์ เป็นต้น

รูป แรม (Random Access Memory : RAM) 

4.3 รอม (Read Only Memory : ROM) 
      เป็นหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งที่มีการอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ข้อมูลแบบเข้าถึง โดยสุ่มหน่วยความจำประเภทนี้มีไว้เพื่อบรรจุโปรแกรมสำคัญบางอย่าง เพื่อว่าเมื่อเปิดเครื่องมา ซีพียูจะเริ่มต้นทำงานได้ทันทีข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในรอมจะถูกบันทึกมาก่อนแล้ว ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลใดๆ ลงไปได้ซึ่งข้อมูลหรือโปรแกรมที่อยู่ในรอมนี้จะอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่องข้อมูลหรือโปรแกรมก็จะไม่ถูกลบไป

รูป รอม (Read Only Memory : ROM) 


เรื่องที่ 2 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

เรื่องที่ 2 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)


หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)   
     เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือชุดคำสั่งเข้ามายังระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลซึ่งอาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข ภาพเคลื่อนไหว เสียงสัญลักษณ์ เป็นต้น


2.1 แป้นพิมพ์ (Keyboard)
      แป้นพิมพ์ (Keyboard) หมายถึง อุปกรณ์ของหน่วยรับข้อมูลที่เป็นอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง มีลักษณะปุ่มคล้ายกับเครื่องพิมพ์ดีด ประกอบด้วยปุ่มสำหรับพิมพ์อักขระ ตัวเลข เรียกใช้ฟังก์ชันของซอฟต์แวร์ และควบคุมการทำงานร่วมกับปุ่มอื่นๆ


รูป ลักษณะต่างๆ ของปุ่มแป้นพิมพ์ (Keyboard)


2.2 เมาส์ (Mouse)
      เมาส์ (Mouse) หมายถึง อุปกรณ์ของหน่วยรับข้อมูลที่ต้องใช้ร่วมกับจอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ โดยในการใช้งานเมาส์ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีการต่อมันเข้ากับช่องต่อของคอมพิวเตอร์ผ่านทาง USB, PS/2 port และใช้สัญญาณวิทยุเป็นตัวเชื่อมต่อเมาส์ไร้สาย (Wireless mouse) 
      เมาส์ (Mouse) มีหน้าที่หลัก คือ เลือกคำสั่งบนเมนู, ใช้เลื่อนไอคอน,ปรับเปลี่ยน
ขนาดของวินโดว์หรือหน้าต่าง, เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม และเลือกออปชันต่าง ๆ โดยการคลิก (Click) ,ดับเบิลคลิก (Double Click) , ลากแล้วปล่อย (Drag and Drop) และคลิกเมาส์ปุ่มขวา (Right Click)  


รูป เมาส์ (Mouse)


2.3 สแกนเนอร์ (Scanner)
      สแกนเนอร์ (Scanner) หมายถึง อุปกรณ์ในหน่วยรับข้อมูลที่ใช้สำหรับนำข้อความหรือรูปภาพเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำได้ ซึ่งมีหลักการของการส่องแสงไปยังข้อความ สัญลักษณ์ หรือรูปภาพที่ต้องการแล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า
      สแกนเนอร์ (Scanner) ทำหน้าที่กวาดจับภาพ ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่อ่านโดยช่องอ่านของสแกนเนอร์และเก็บไว้ในรูปแบบของไฟล์รูปภาพนามสกุล .jpg หรือไฟล์อักษรนามสกุล .pdf


รูป สแกนเนอร์ (Scanner)

2.4 อุปกรณ์จับภาพ (Image Capturing Devices)
      อุปกรณ์จับภาพ (Image capturing devices) หมายถึง อุปกรณ์ในหน่วยรับข้อมูลที่ใช้เก็บภาพต้นฉบับในรูปดิจิตอล อุปกรณ์จับภาพในปัจจุบันมีดังนี้
      2.4.1 กล้องดิจิตอล (Digital camera) เป็นกล้องถ่ายรูปที่ไม่ต้องใช้ฟิล์ม ภาพที่ถ่ายได้จะถูกบันทึกแบบดิจิตอลโดยผู้ใช้สามารถตรวจสอบภาพจากจอภาพด้านหลังของกล้อง
รูป กล้องดิจิตอล (Digital Camera)

   2.4.2 กล้องวิดีโอ (Video camera) เป็นกล้องที่สามารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้ และสามารถจับภาพนิ่งได้ด้วย
รูป กล้องวิดีโอ (Video camera)

   2.4.3 กล้องเว็บแคม (Web cam) เป็นกล้องที่ใช้จับภานิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวแล้วแสดงผ่านอินเทอร์เน็ต การใช้งานนิยมใช้ในการสนทนาในลักษณะเห็นภาพคู่สนทนา


รูป กล้องเว็บแคม (Web cam)

2.5 อุปกรณ์รับเสียง (Audio-input devices)
      อุปกรณ์รับเสียง (Audio-input devices) หมายถึง อุปกรณ์ในหน่วยรับข้อมูลที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเสียง ทั้งเสียงพูด เสียงเพลง และเสียงอื่นๆ จากผู้ใช้แล้วแปลงสัญญาณเสียงนั้นให้อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์นำไปประมวลผลได้ อุปกรณ์รับเสียที่นิยมใช้ ได้แก่ ไมโครโฟน ( Microphone )

รูป ไมโครโฟน


เรื่องที่ 3 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)

เรื่องที่ 3 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)

3.1 ความหมาย
          หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนประสำคัญ 2 ส่วน คือ
 หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยหน่วยย่อย ดังนี้
1. หน่วยควบคุม (Control Unit)
2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit ; ALU)


3.2 หน่วยควบคุม (Control Unit)
         หน่วยควบคุมทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของหน่วยทุกๆ หน่วย ใน CPU และอุปกรณ์อื่นที่ต่อพ่วง เปรียบเสมือนสมองที่ควบคุมการทำงานส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ เช่น แปลคำสั่งที่ป้อน ควบคุมให้หน่วยรับข้อมูลรับข้อมูลเข้ามาเพื่อทำการประมวลผล ตัดสินใจว่าจะให้เก็บข้อมูลไว้ที่ไหน ถูกต้องหรือไม่ ควบคุมให้ ALU ทำการคำนวณข้อมูลที่รับเข้ามา ตลอดจนควบคุมการแสดงผลลัพธ์ เป็นต้น
รับชุดคำสั่งจาก RAM แล้วทำการอ่านและแปลชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ภายในระบบ โดยเฉพาะส่วนประกอบของ Processorควบคุมการไหลของโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่ RAM และออกจาก RAM และควบคุมการไหลของสารสนเทศ (Processed data) เข้าสู่ RAM ตาม Address ที่ว่างก่อนนำไปแสดงผล

3.3 หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit ; ALU)
      หน่วยคำนวณและตรรกะ ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic operations) และการคำนวณทางตรรกศาสตร์ (Logical operations) โดยปฏิบัติการเกี่ยวกับการคำนวณได้แก่ การบวก (Addition) ลบ (Subtraction) คูณ (Multiplication) หาร (Division) สำหรับการ คำนวณทาง    ตรรกศาสตร์ ประกอบด้วย การเปรียบเทียบค่าจริง หรือเท็จ โดยอาศัยตัวปฏิบัติการพื้นฐาน 3 ค่าคือ
  • เงื่อนไขเท่ากับ (=, Equal to condition)
  • เงื่อนไขน้อยกว่า (<, Less than condition)
  • เงื่อนไขมากกว่า (>, Greater than condition)

สำหรับตัวปฏิบัติการทางตรรกะ สามารถนำมาผสมกันได้ทั้งหมด 6 รูปแบบ คือ
  • เงื่อนไขเท่ากับ (=, Equal to condition)
  • เงื่อนไขน้อยกว่า (<, Less than condition)
  • เงื่อนไขมากกว่า (>, Greater than condition)
  • เงื่อนไขน้อยกว่าหรือเท่ากับ (<=, Less than or equal condition)
  • เงื่อนไขมากกว่าหรือเท่ากับ (>=, Greater than or equal condition)
  • เงื่อนไขน้อยกว่าหรือมากกว่า (< >, Less than or greater than condition) ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่มีค่าคือ "ไม่เท่ากับ (not equal to)" นั่นเอง
รูป ซีพียู คอร์ ไอสาม

รูป ซีพียู คอร์ ไอห้า

รูป ซีพียู คอร์ ไอเจ็ด

รูป ซีพียู คอร์ เอ็ม

รูป ซีพียู เอเอ็มดี










เรื่องที่ 1 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

เรื่องที่ 1 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

1. หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
    หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปตามที่โปรแกรมได้กำหนดไว้ โดยตัวเครื่องคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่าฮาร์ดแวร์ จะมีส่วนประกอบสำคัญขั้นพื้นฐาน 5 หน่วย ซึ่งแต่ละหน่วยจะมีหลักการทำงาน ดังนี้
     1.1 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลมาจักดห็บที่ฟน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ จากนั้นเมื่อมีคำสั่งให้ประมวลผล ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ที่หน่วยความจำจะถูกส่งไปยังหน่วยประมวลผล
     1.2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) ทำหน้าที่ประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ จากนั้นผลลัพธ์จะถูกส่งไปจัดเก็บที่หน่วยความจำหลัก
     1.3 หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดอยู่เท่านั้น ถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลหรือโปรแกรมนั้นจะสูญหายไป
     1.4 หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงผลหรือจัดเก็บไว้ที่หน่วยความจำรอง
     1.5 หน่วยความจำรอง (Secondary Storage) ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆเพื่อนำมาใช้อีกครั้งในภายหลังได้ แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลและโปรแกรมที่จัดเก็บไว้จะไม่สูญหาย



เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2

 เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์


1. ข            2.  ก        3.  ค         4.  ก        5. ข
6.   ค         7.  ง         8.  ข         9.  ค      10.ง

หมายเหตุ : ถ้านักเรียนได้คะแนนน้อยไม่ต้องตกใจนะคะ เป็นเพียงการทดสอบความรู้พื้นฐานเท่านั้นเองค่ะ

แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การทำงานของคอมพิวเตอร์

 แบบทดสอบก่อนเรียน 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การทำงานของคอมพิวเตอร์

คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.        ต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์มาจากแนวความคิดข้อใด
           ก.     บัตรเจาะรู                                                           
           ข.     การคำนวณตัวเลข
           ค.     การหมุนของฟันเฟือง                                         
           ง.     การเดินของนาฬิกา      
2.        คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลก คือข้อใด
           ก.     UNIVAC                                                               ข.     ENIAC
           ค.     MARK I                                                                ง.     ABC
3.        คอมพิวเตอร์ หมายถึงข้อใด
           ก.     เครื่องไฟฟ้า                                                                ข.     เครื่องกลไก
           ค.     เครื่องอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติ            ง.      เครื่องวิเคราะห์
4.        เครื่องฝากถอนอัตโนมัติ เป็นบทบาทของคอมพิวเตอร์ข้อใด
           ก.     การธนาคาร                                                           ข.     การศึกษา
           ค.     ธุรกิจออนไลน์                                                      ง.      การสื่อสาร
5.        เคาน์เตอร์เซอร์วิส เป็นบทบาทของคอมพิวเตอร์ข้อใด
           ก.     การสื่อสาร                                                             ข.     งานธุรกิจ
           ค.     งานราชการ                                                   ง.    การเลือกซื้อสินค้า
6.        การจองตั๋วเครื่องบินผ่านอินเตอร์เน็ต  เป็นบทบาทของคอมพิวเตอร์ข้อใด
           ก.     งานการโรงแรม                                                    ข.    งานธุรกิจ
           ค.     งานคมนาคม                                                         ง.     งานโฆษณา
7.        ข้อใดคือบทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม  
           ก.       ใช้ในการประกาศผลสอบของนักเรียน
           ข.       ใช้ในการออกแบบภายในอาคาร
           ค.       ใช้ในการควบคุมตู้ เอทีเอ็ม
           ง.       ใช้ในการควบคุมหุ่นยนต์
8.        ข้อใดคือบทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานสถาปัตยกรรม  
           ก.       ใช้ในการประกาศผลสอบของนักเรียน
           ข.       ใช้ในการออกแบบภายในอาคาร
           ค.       ใช้ในการควบคุมตู้ เอทีเอ็ม
           ง.       ใช้ในการควบคุมหุ่นยนต์
9.        การเรียนการสอนแบบ e-learning มีลักษณะอย่างไร
           ก.       การเรียนการสอนแบบทางไกล
           ข.       การเรียนการสอนผ่านดาวเทียม
           ค.       การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
           ง.       การเรียนการสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
10.      ข้อใดเป็นข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
           ก.       ระยะทางในการสื่อสารระหว่างกัน
           ข.       ระยะเวลาในการสื่อสารระหว่างกัน
           ค.       ค่าใช้จ่ายในการสื่อสารระหว่างกัน
           ง.       ขาดการเชื่อมโยงของระบบอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารระหว่างกัน

หมายเหตุ : นักเรียนสามารถตรวจคำตอบได้โดยเลือกหัวข้อเฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ในเมนูด้านข้างนะคะ